คุณประโยชน์ของสารสกัดใน แคลซามีน (Calsamine)

คุณประโยชน์ของสารสกัดใน แคลซามีน (Calsamine)

คุณประโยชน์ของสารสกัดใน แคลซามีน (Calsamine)

       วิธีการเลือกรับประทานแคลเซียม เพื่อให้ร่างกายได้ประโยชน์สูงสุด
       การเลือกรับประทานแคลเซียม ในรูปแบบที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะแคลเซียมในรูปแบบอาหารเสริมที่วางจำหน่ายทั่วไป มักเป็นแคลเซียมในรูปแบบ ที่เป็นสารอนินทรีย์ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งนอกจากร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยแล้ว ยังจะทำให้เกิดโทษแก่ร่างกายอีกด้วย เพราะเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว แคลเซียมคาร์บอเนต จะเข้าไปจับตัวกันและเกาะติดในบริเวณที่ร่างกายไม่ต้องการแคลเซียม เช่น หัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดในหัวใจอุดตัน และทำให้เกิดโรคหัวใจในที่สุด

       ดังนั้น การเลือกรับประทานแคลเซียมที่อยู่ในรูปแบบของ "อะมิโนแอซิดคีเลต" ซึ่งเป็นแคลเซียม ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้มากถึง 80-90% ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมที่อยู่ในรูปแบบของ "อะมิโนแซิดคีเลต" ได้ดี เพราะเป็นแคลเซียมที่อยู่ในรูปแบบ ที่ทำให้ร่างกายเข้าใจว่า สิ่งที่ดูดซึมเข้าไปนั้น คือ กรดอะมิโน (โปรตีน) ร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ในช่วงกระบวนการดูดซึมสารอาหารที่ยาวนานกว่านั่นเอง เพราะปกติร่างกายจะดูดซึมแคลเซียม หรือแร่ธาตุต่างๆ ได้ยากมาก เพราะช่วงอวัยวะที่ร่างกายใช้ในการดูดซึมแคลเซียม มีแค่เพียงลำไส้เล็กช่วงต้น ที่มีความยาวเพียง 10-12 นิ้ว เท่านั้น หากแคลเซียมหลุดพ้นช่วงนี้ไป ร่างกายก็จะขับออก จึงทำให้การรับประทานแคลเซียมในรูปแบบอื่นๆ ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่สังเกตได้ในทันที หลังจากทานแคลเซียม คือ เกิดการท้องผูก เพราะแคลเซียมที่ไม่ถูกดูดซึม จะรวมตัวกับอุจจาระทำให้อุจจาระแข็ง เป็นก้อนนั่นเอง


       ข้อมูลทางวิชาการของแคลเซียม อะมิโน แอซิด คีเลต (Calcium Amino Acid Chelate)
       แคลเซียม อะมิโน แอซิด คีเลต ถือว่าเป็นแหล่งแคลเซียมใหม่ที่มีความเป็นชีวภาพอย่างแท้จริง ด้วยอัตราการดูดซึมเมื่อเทียบแคลเซียมทั่วไปสูงกว่าถึง 60 – 80% และสูงกว่าแคลเซียมในนมกว่า 60% นอกจากนั้นโครงสร้างของแคลเซียมอะมิโน แอซิด คีเลต เมื่ออยู่ในลำไส้ของคนจะไม่รวมตัวกับกรด Oxalate และ Phytic ซึ่งเป็นตัวยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมในอาหาร ที่สำคัญการดูดซึมของ แคลเซียม อะมิโน แอซิด คีเลต ไม่ต้องอาศัยวิตามิน D เหมือนแคลเซียมรูปแบบอื่นๆ และไม่ทำให้เกิดการตกค้างของแคลเซียม ไม่เกิดนิ่วในไตหรือทำให้เสี่ยงติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อมและกระดูกหัก ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทำให้การสลายกระดูกของร่างกายลดลง ช่วยบรรเทาอาการจากโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย

       งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Orthopaedic Case Reports ซึ่งเป็นวารสารที่รายงานผลการศึกษาด้านกระดูกและกล้ามเนื้อในฐานข้อมูล PUBMED พบงานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน เกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมในรูปแบบต่างๆ โดยทดลองให้ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนทั้งหมด 24 คน ถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน แต่ละกลุ่มจะให้รับประทานแคลเซียมในรูปแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่ แคลเซียมอะมิโนแอซิดคีเลต แคลเซียมคาร์บอเนต และแคลเซียมซิเตรตมาเลต ผลการศึกษาโดยใช้ตัวอย่างเลือดสำหรับการตรวจหาแคลเซียมในกระแสเลือด โดยประเมินในวันแรกและหลังจากทดลอง 8 สัปดาห์ พบผลลัพธ์ คือ การดูดซึมของแคลเซียมอะมิโนแอซิดคีเลต) จากการรับประทาน มีค่าสัมพัทธ์เท่ากับ 223.15% และมีค่าคะแนนจากการตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Mineral Density-BMD) สูงกว่าแคลเซียมในรูปแบบอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งช่วยยืนยันถึงประสิทธิภาพในการดูดซึมที่โดดเด่น และช่วยเสริมมวลกระดูกได้อย่างเห็นผล

       กระดูกอ่อนผิวข้อกับคอลลาเจนไทป์ II (Type II Collagen)
       กระดูกอ่อนผิวข้อนั้น มีคอลลาเจนไทป์ II (Type II Collagen) เป็นส่วนประกอบที่ทำหน้าที่เป็นแกนกลางทำให้กระดูกอ่อนแข็งแรงและโปรติโอไกลแคน (Proteoglycan) มีลักษณะเป็นร่างแหทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น สององค์ประกอบหลักนี้ ทำให้กระดูกอ่อนทำหน้าที่เป็นกันชนที่ดีป้องกันการกระแทกของกระดูกใหญ่ระหว่างข้อ ทั้ง 2 ชิ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้นกลับปรากฏว่าร่างกายสร้างคอลลาเจนไทป์ II ลดลง ขณะที่อัตราการทำลายเพิ่มขึ้น ทำให้กระดูกอ่อนของผิวข้อบางลงและความแข็งแรงลดลง อาการข้อเสื่อมจึงมักเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับคอลลาเจนไทป์ II เพียงพอ ในการสร้างความแข็งให้กับกระดูกอ่อนผิวข้อ กระดูกอ่อนผิวข้อจึงบางลงเรื่อย ๆ

       คอลลาเจนไทป์ II จะถูกลำเลียงผ่านทางกระแสเลือดเข้าสู่บริเวณข้อโดยตรง การที่กระดูกอ่อนผิวข้อ ได้รับสารอาหารที่สมบูรณ์ทำให้เกิดการเสริมสร้างความแข็งแรง ปรับสภาพความยืดหยุ่น และเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกอ่อนผิวข้อ้ ทั้งนี้เนื่องจาก คอลลาเจนไทป์ II กระตุ้นให้กระดูกอ่อนผิวข้อ มีการสร้างคอลลาเจนและโปรติโอไกลแคน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกอ่อน จึงเป็นการแก้ไขและป้องกันอาการข้อเสื่อมที่สาเหตุอย่างแท้จริง

       จากการศึกษาทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า คอลลาเจนไทป์ II ช่วยลดอาการต่าง ๆ อันเนื่องมาจากข้อเสื่อมที่ทำให้ผู้ที่มีอาการข้อเสื่อมมีความสุขในการดำเนินชีวิตมากขึ้น โดยสามารถสังเกตพบว่า หลังจากรับประทานอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 1 – 2 สัปดาห์ เสียงกรุบกรับในข้อลดลง ลดอาการปวดและอาการอักเสบรอบข้อ อาการฝืดขัดข้อลดลง ขยับหรือเคลื่อนไหวข้อง่ายขึ้น

       คอลลาเจนไทป์ II มีความปลอดภัยสูง ไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่าง ๆ เหล่านี้คือ ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้ ไม่ทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดศีรษะ ไม่ทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือปวดท้อง ไม่ทำให้ง่วงนอน ปลอดภัยไม่เป็นพิษต่อตับ ไม่ทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูง ด้วยคุณสมบัติเด่นเหนือคอลลาเจนชนิดอื่น ๆ คือ ละลายน้ำได้ดี เร็วและสมบูรณ์ ดูดซึมได้ดีและถูกนำพาไปยังบริเวณข้อโดยตรง ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ไม่ทำให้เกิดอาการท้องอืด มีความคงตัวสูง (เพราะได้จากปลาทะเลนํ้าอุ่น)


       คอลลาเจนไทป์ II (Type II Collagen) กับการบรรเทาข้อเข่าเสื่อม
       คอลลาเจนไทป์ II จัดเป็นโปรตีนประเภทหนึ่งที่มีบทบาทในการเสริมสร้างกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ กระดูก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก โดยเปรียบเสมือนกาวที่ช่วยประสานโครงสร้างในส่วนดังกล่าวเข้าด้วยกัน ช่วยให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างปกติ เนื่องจากมีโครงสร้างใกล้เคียงกับคอลลาเจนในกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่า

       คอลลาเจนไทป์ II ถูกนำมาใช้บรรเทาอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเชื่อว่าคอลลาเจนชนิดนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารต้านอาการปวด บวม หรืออักเสบ รวมถึงเพิ่มปริมาณน้ำในข้อเข่า เนื่องจากมีการศึกษาบางส่วนพบว่า Hydrolyzed Collagen ซึ่งเป็นคอลลาเจนที่ผ่านกระบวนการย่อยบางส่วนแล้วช่วยลดอาการปวดข้อและเสริมสุขภาพข้อต่อได้  

       นอกจากนี้ ยังพบรายงานการงานวิจัย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการบนฐานข้อมูล PUBMED ในปี 2020 ได้ชี้ให้เห็นว่า การรับประทานคอลลาเจนไทป์ II อาจช่วยบรรเทาอาการของข้อเข่าเสื่อมได้ดีกว่าสารกลูโคซามีนและสารคอนดรอยติน สารอาหารยอดนิยมที่ถูกใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมอีกด้วย

       ในส่วนของงานวิจัยที่ศึกษาในมนุษย์ พบงานวิจัยที่ทำในกลุ่มตัวอย่างของผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis) โดยใช้คอลลาเจนไทป์ II เสริมกับการใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอล พบผลหลังจากทดลอง 3 เดือน คือ กลุ่มตัวอย่างที่รับประทานคอลลาเจนไทป์ II เสริมกับการใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอล รายงานว่ามีอาการปวดข้อ การใช้งานข้อ และมีคุณภาพของการใช้ชีวิต ดีกว่ากลุ่มที่รับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลเพียงอย่างเดียว

 
       กระดูกอ่อนปลาฉลาม: แหล่งที่มาของสารคอนดรอยตินซัลเฟต
       คอนดรอยตินซัลเฟต เป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อกระดูกอ่อนผิวข้อ ที่พบได้ในร่างกาย โดยถูกสร้างขึ้นโดยเซลล์กระดูกอ่อน (chondrocyte) ซึ่งตามปกติกระดูกอ่อนผิวข้อจะมีขบวนการสร้างและสลายสารเหล่านี้อย่างสมดุล แต่เมื่อใดที่เกิดพยาธิสภาพใดๆ ก็ตาม ที่ทำให้กระดูกอ่อนถูกทำลาย ก็จะมีการสลายคอนดรอยตินซัลเฟตนี้ออกมาอยู่ในน้ำไขข้อมากกว่าปกติ และทำให้เกิดภาวะข้อเขาเสื่อม ปวดข้อ ข้ออักเสบ เป็นต้น

       ดังนั้นร่างกายจึงต้องการคอนดรอยตินซัลเฟต เพื่อเข้าไปเสริมมากขึ้น จึงมีการสกัดสารคอนดรอยตินซัลเฟตในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาใช้รับประทานเสริมจากอาหารมื้อหลัก สำหรับแหล่งที่พบคอนดรอยตินซัลเฟตที่มีการนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น มีทั้งที่ผลิตจากกระดูกอ่อนของปลาฉลาม หลอดลมของโค และจมูกของสุกร แต่อย่างไรก็ตามปัญหาในเรื่องโรคต่างๆ ในโคทำให้เกิดความกังวลในการบริโภคผลิตภัณฑ์จากโค รวมถึงการใช้กระดูกอ่อนจากสุกรก็เป็นข้อจำกัดของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในปัจจุบัน จึงมีการนำวัตฤดิบชนิดอื่นๆ ที่เป็นแหล่งของคอนดรอยตินซัลเฟตมาเป็นทางเลือกหรือใช้ทดแทน ได้แก่ กระดูกอ่อนปลาฉลาม ซึ่งพบว่า คอนดรอยตินซัลเฟตจากกระดูกอ่อนฉลามมีค่าสารสำคัญที่สูงมากกว่าคอนดรอยตินซัลเฟตจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ

       การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคอนดรอยตินซัลเฟต
       มีการศึกษาวิจัยในการใช้คอนดรอยตินซัลเฟตในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมพบว่าช่วยลดอาการเจ็บข้อและสมารถชะลอการแคบลงของช่องว่างระหว่างข้อ โดยการศึกษานี้คือ The Study on Osteoarthritis Progression Prevention (STOPP) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 622 คนจากยุโรปและอเมริกา ผู้เข้าร่วมการศึกษามีอายุระหว่าง 45-80 ปี เป็นข้อเข่าเสื่อมบริเวณ medial tibiofemoral โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาถูกสุ่มให้ได้รับคอนดรอยตินซัลเฟตในขนาด 800 มิลลิกรัม วันละครั้ง (309 คน) หรือ ได้รับยาหลอก (313 คน) เป็นระยะเวลา 24 เดือน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับคอนดรอยตินซัลเฟต chondroitin มีการแคบลงของข้อ 0.07 มิลลิเมตร กลุ่มควบคุมมีการแคบลงของข้อ 1.31 มิลลิเมตร โดยกลุ่มที่ได้รับคอนดรอยตินซัลเฟต มีการแคบลงของข้อน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าผู้ที่ได้รับคอนดรอยตินซัลเฟตช่วยลดความสี่ยงในการเกิดการแคบลงของข้อได้ร้อยละ 33 นอกจากนั้นผู้ที่ได้รับคอนดรอยตินซัลเฟต มีความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมโดยพบผลลดปวดตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนที่ 9 ของการศึกษา และผู้ป่วยร้อยละ 90 ทนต่อการใช้ยาได้ดี โดยไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ยา

       และยังมีการศึกษาวิจัยเพื่อพิสูจน์ประสิทธิผลของสารคอนดรอยตินซัลเฟต ว่าประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการและรักษาโรคข้อเสื่อมได้จริงหรือไม่ โดยมีอาสาสมัครซึ่งได้รับการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมเข้าร่วมในการศึกษานี้รวม 194 ราย แบ่งสุ่มออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับสารคอนดรอยตินซัลเฟต ในขนาด 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน และกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยา Celecoxib (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) ในขนาด 200 มิลลิกรัมต่อวัน เมื่อสิ้นสุดการศึกษาวิจัยที่ 2 ปี ข้อมูลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับ คอนดรอยตินซัลเฟตมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนและน้ำในข้อเข่าน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยา Celecoxib ค่อนข้างชัดเจน โดยความเปลี่ยนแปลงในแง่ของการชะลอความเสื่อมของข้อนั้น สามารถเห็นได้จากการตรวจ MRI ตั้งแต่ 12 เดือนของการรักษา ส่วนในแง่ของการบรรเทาอาการปวดข้อนั้น พบว่า คอนดรอยตินซัลเฟตสามารถบรรเทาอาการปวดได้ดีพอ ๆ กับยา celecoxib

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้